แรงงานคนพิการไม่ด้อยกว่าใครถ้าอยู่ถูกที่ คนพิการเป็นผู้ที่มีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้พิการจะไม่สามารถประกอบอาชีพหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ปัจจุบันมีการเปิดกว้างในเรื่องการรับผู้พิการเข้าทำงานมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอให้ผู้พิการได้ใช้ชีวิตในสังคม ภาครัฐจึงเข้ามาผลักดันนโยบายการสร้างงานให้ผู้พิการ คาดว่าจะสร้างงานให้ผู้พิการได้ถึง 40,000 กว่าคน บทบาทของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่งก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ใหม่มาก แยกออกมาจากกรมแรงงาน เพื่อดูแลเกี่ยวกับคนพิการโดยเฉพาะถึงแม้จะเป็นหน่วยงานใหม่แต่ก็พยายามผลักดันบทบาทของคนพิการเสมอมา และมีโอกาสที่จะผลักดันให้ผู้พิการได้งานถึง 44,000 คน ผ่านรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ การดำเนินงานของสำนักงานจะเน้นหน่วยงานวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคนพิการ ปัจจุบันมีวิสาหกิจมาจดทะเบียนแล้ว 5 แห่ง ที่รู้จักกันดี คือ บริษัทออทิสติกไทยที่เน้นการดูแลเด็กออทิสติก มีการสนับสนุนงานฝีมือในด้านต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทเพิ่งนำผลงานเด็กออทิสติกไปจัดแสดงในนิทรรศการ Abstract & Autistic ที่เปิดโอกาสให้เด็กออทิสติกได้แสดงฝีมือทางการวาดภาพ มีศิลปินแนว Abstract เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก คาดว่าในอนาคตจะมีวิสาหกิจอื่น ๆ เพื่อคนพิการมาจดทะเบียนอีก และช่วยให้ผู้พิการมีรายได้มากยิ่งขึ้น หรือช่วยให้มีทักษะติดตัวเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ บริษัทเด็กพิเศษที่ดำเนินการส่วนใหญ่โดยเด็กพิเศษ จึงเข้าใจถึงธรรมดาของกลุ่มผู้พิการ และสนับสนุนได้อย่างถูกวิธี เป็นหน่วยงานที่จ้างงานเด็กพิเศษและผู้พิการเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้พิการด้วย เป็นอีกหน่วยงานที่มองเห็นได้ว่าเกิดมาทำเพื่อคนพิการจริง ๆ การผลักดันการจ้างงานในคนพิการ สิ่งที่ทำควบคู่ไปกับการมองหาวิสาหกิจใหม่ ๆ ที่สนับสนุนผู้พิการ ทางภาครัฐได้มีการประสานงานกับรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนที่สามารถรับผู้พิการเข้าทำงานได้ให้เปิดกว้างต่อผู้พิการมากขึ้น… Continue reading เพิ่มระดับการดูแล รัฐเตรียมสร้างงานให้คนพิการกว่า 4 หมื่นคน
Category: career
ร้านกาแฟคนพิการ “ยิ้มสู่ คาเฟ่” หนึ่งโอกาสงานสำหรับผู้พิการ
ชวนอุดหนุนร้านกาแฟของคนพิการ เพื่อคนพิการ คนพิการเป็นผู้ที่มีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งคนมักจะมีความเข้าใจผิดว่าผู้พิการไม่สามารถดูแลตัวเองได้ แต่แท้จริงแล้ว ผู้พิการสามารถที่จะดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ลำบากกว่าคนธรรมดาในบางเรื่องเท่านั้น การเข้ามาสนับสนุนผู้พิการจากหลาย ๆ หน่วยงานเป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการสามารถดำเนินชีวิตได้เทียบเท่าคนทั่วไป เคยได้ยินผู้พิการกล่าวว่าไม่ได้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษเยี่ยงอภิสิทธิ์ชน แค่ต้องการสิ่งที่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานได้ก็เพียงพอแล้ว สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้พิการได้ต้องการเรียกร้องอะไรที่มากกว่าคนทั่วไปเท่าใดนัก ร้านกาแฟยิ้มสู่เองก็ตอกย้ำความคิดนี้ เพราะดำเนินงานผ่านพนักงานที่เป็นผู้พิการทั้งสิ้น จุดเริ่มต้นกาแฟยิ้มสู้ ร้านกาแฟเพื่อผู้พิการ ร้านกาแฟยิ้มสู้เกิดขึ้นจากแนวคิดของมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ แรกเริ่มต้องการให้เป็นแหล่งรายได้ของผู้พิการ และเป็นการฝึกงานสำหรับผู้พิการด้วย โดยร้านกาแฟยิ้มสู้จะมีพนักงานเป็นผู้พิการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้พิการสามารถทำงานและดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ การอุดหนุนร้านกาแฟยิ้มสู้ก็จะเป็นการสนับสนุนผู้พิการด้วย เงินส่วนหนึ่งจะนำไปเข้มูลนิธิเพื่อสนับสนุนผู้พิการต่อไป ยิ้มสู้คาเฟ่เป็นร้านกาแฟที่มีอาหารและเบเกอรี่อยู่ในร้านด้วย พนักงานในร้านเป็นผู้พิการทั้งหมด เวลาสั่งอาหารจะใช้วิธีการชี้ชื่อเมนู มีหน้าจอที่เขียนข้อความหมายเหตุต่าง ๆ เช่น หวานน้อย ไม่หวานเลย เพราะบางครั้งพนักงานเป็นผู้พิการทางหู การดำเนินงานของยิ้มสู้คาเฟ่ไม่ได้มีจุดขายที่ความพิการ แต่เป็นคุณภาพและฝีมือของผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพอาร์ต ๆ จากฝีมือผู้พิการประดับอยู่ในร้าน รสชาติเครื่องดื่มที่พนักงานทุกคนจะต้องได้รับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟก่อน และความใส่ใจของพนักงานที่มีใจรักการบริการเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าประทับใจยิ้มสู้คาเฟ่ และกลับมาอุดหนุนเมื่อมีโอกาสเรื่อย ๆ ช่องทางการอุดหนุนกาแฟยิ้มสู้ ผู้ที่ต้องการอุดหนุนยิ้มสู้คาเฟ่ สามารถไปอุดหนุนได้ที่ร้านเลย มีทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ สาขาแรก ซอยอรุณอมรินทร์ 39 ย่านปิ่นเกล้า สาขาที่สอง… Continue reading ร้านกาแฟคนพิการ “ยิ้มสู่ คาเฟ่” หนึ่งโอกาสงานสำหรับผู้พิการ